พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ได้ริเริ่มมาจากโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area -Based Education - ABE) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างกลไกการจัดการศึกษาในพื้นที่ระดับจังหวัดผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ตราพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 รองรับการดำเนินงานโครงการนวัตกรรมการศึกษา 6 พื้นที่ 8 จังหวัด โดยมีเป้าหมายให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นหนึ่งในกลไกและกระบวนการปฏิรูปการศึกษาที่สามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยสามารถมีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับมาตรฐานและกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อการคิดค้นและพัฒนานวัดกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น 2) เพื่อการลดความเหลือมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของเด็กไทยทั้งประเทศ 3) เพื่อการกระจายอำนาณและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหาร และการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ 4) เพื่อสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่ามกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยนอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ