ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
จำนวนTeacher Forum ทั้งหมด 4 รายการ
บูรณาการเป็นกุญแจหลักของการสอนเพื่อให้เกิดสมรรถนะขึ้นกับนักเรียนครับ เหตุผลสำคัญคือ ถ้าไม่บูรณาการก็จะเป็นการสอนแบบนำเสนอเนื้อหาแบบเป็นบทๆ เป็นตอนๆ แล้วค่อยไปผสมกันในข้อสอบปลายภาค หรือการให้ทำโปรเจคสุดท้าย ซึ่งจะเกิดขึ้นสมรรถนะได้ไหม ก็ตอบได้ว่าเกิดได้ครับ ไม่ใช่เกิดไม่ได้ แต่มันจะยากกว่า เริ่มให้ฝึกให้ทำมาตั้งแต่ต้น ที่สำคัญมันจะปั่นทอนพลังของนักเรียนไปเยอะแล้ว โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความเข้าใจเชิงเนื้อหาช้า ซึ่งต่างจากการบูรณาการเนื้อหามาก่อน ทำให้นักเรียนไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับเนื้อหาที่ครูกำหนดไว้ แต่เลือกทำได้จากจุดที่ตนเองเข้าใจก่อน ทำไมต้องบูรณาการถึงจะพาสู่สมรรถนะได้? คำตอบคือ คำว่าสมรรถนะมันหมายถึง ความสามารถที่เป็นองค์รวมที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อมีอะไรที่เป็น "ประสบการณ์ใหม่" สำหรับนักเรียนแล้ว นักเรียนจะสามารถดึงเอาประสบการณ์เดิมมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาได้ ไม่ใช่แค่ทำเหมือนเดิมในทุกประสบการณ์ใหม่ด้วยวิธีการที่ได้จากประสบการณ์เดิมนะครับ แต่เน้นที่ว่า ปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์ใช้ได้อย่างมีรูปแบบ นั่นหมายถึง เป็นการสอนที่มุ่งอนาคตว่า นักเรียนต้องเอาตัวรอดได้ ซึ่งจะต่างจากรูปแบบการสอนที่แบ่งเนื้อหาเป็นบทๆ ที่จะเน้นการใช้ความรู้นั้นตรงๆ ทำซ้ำได้เหมือนเดิม การฝึกการใช้ความรู้เป็นหัวใจของการสอนยุคปัจจุบัน ด้วยความหมายว่า หากนักเรียนมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เมื่อเขาต้องเจอกับเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมาย เขาจะมี "ความมั่นใจ" ในการแก้ไขปัญหาโดยการประมวลข้อมูลประสบการณ์เดิมที่หลากหลายมาใช้ แล้วถ้าเนื้อหาเป็นบทๆ แต่มีโจทย์ใหม่ๆ ที่นักเรียนจะฝึกซ้ำๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญก็ได้นิครับ ไม่เห็นต้องบูรณาการเลย ' คำตอบคือ ได้ครับ แต่ต้องคิดต่อว่า ความรู้เพียงท่อนเดียวจะช่วยแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพได้จริงหรือเปล่า กับการรู้ในหลายๆกับการรู้ในหลายๆเรื่องแล้วคัดเลือกเรื่องที่ใช่มาใช้ อันไหนจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน ด้วยเหตุนี้ข้อมูล ชุดความรู้ยังคงมีความจำเป็นครับ เพียงแต่การเข้าถึงความรู้ การให้นักเรียนได้รับความรู้นั้นเปลี่ยนรูปแบบไป เน้นการค้นคว้าของนักเรียนมากขึ้น สิ่งสำคัญคือ ระหว่างการนำเสนอเนื้อหาวิชากับการนำเสนอสถานการณ์ปัญหา อันนี้ที่จะสร้างความสนใจ ความท้าทายในการเรียนให้นักเรียนได้มากกกว่ากัน การทำข้อสอบเสร็จกับการทำผลงานนวัตกรรมขึ้นมาได้หนึ่งชิ้น อันไหนที่นักเรียนน่าจะภูมิใจมากกว่ากัน จะทำให้เกิดการบูรณาการเนื้อหาได้อย่างไร? ก็เนื้อหามันเยอะ แบ่งเป็นบทๆ จะสอนทีเดียวหลายบทได้อย่างไร แน่นอนครับถ้าเมื่อไรยึดเนื้อหาเพื่อจะสอนก่อนก็จะทำให้เกิดการบูรณาการได้น้อยมาก ดังนั้นอย่างแรกเลยครูจะต้องวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของเนื้อหาก่อน แล้วค่อยหาว่าจะมีโอกาสใดบ้างที่จะนำเอาความรู้กลุ่มนั้นไปใช้ได้จริง เมื่อเราได้สถานการณ์ ปัญหาที่คิดว่าจะเป็นโอกาสในการใช้ความรู้ได้ เราค่อยเลือกต่อไปว่าสถานการณ์ไหนมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากสุด และจะสามารถดึงความสนใจความท้าทายของนักเรียนในการลงมือทำได้มากที่สุด ก็เลือกสถานการณ์นั้นครับ แน่นอนว่าแต่ละสถานการณ์ไมได้ใช้ความรู้จากวิชาเดียว นอกจากนี้ปริมาณความสำคัญของแต่ละเนื้อหาแต่ละความรู้ที่จะถูกใช้ก็ไม่เท่ากันด้วย ซึ่งอันนี้ความจริงแล้วก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะเดิมแต่ละเนื้อหาเราก็ให้น้ำหนักคะแนนไม่เท่ากันก็ได้ เวลาเรียน Q Coaching Team
19 สิงหาคม 2567
เมื่อ 150 ปีที่แล้ว การศึกษาอเมริกันเข้าไปมีบทบาทเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น ด้วยรูปแบบและคุณภาพที่แตกต่างจากการศึกษาที่จัดโดยญี่ปุ่นเอง จนทำให้ญี่ปุ่นต้องปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ภาพนั้นในวันนี้สำหรับการศึกษาไทยดูเหมือนจะชัดมากขึ้น ณ ตอนนี้ผู้ปกครองมุ่งส่งลูกเรียน รร. นานาชาติมากกว่าการเรียนใน รร.เอกชน ซึ่งจุดสนใจคือภาษาอังกฤษที่ได้จาก รร.นานาชาติ ซึ่งถ้ามองโจทย์นี้ ผมว่าเราจะเริ่มเข้าสู่วิกฤติความมั่นคงของชาติเลย เพราะ รร.นานาชาติจะไม่ให้ความสำคัญกับภาษาไทยเลย จะเกิดอะไรขึ้นหากเด็กไทยพูดไทยไม่ได้ คำถามสำคัญคือ รร.เอกชนพัฒนาให้นักเรียนสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษได้หรือเปล่า ซึ่งคำตอบชัดๆ คือ ทำได้และทำได้ดีด้วย ที่สำคัญคือยังลงทุนกับเรื่องนี้เพิ่มได้อีก ซึ่งความท้าทายจึงเป็นเรื่องค่านิยมของผู้ปกครอง ในขณะที่ รร.เอกชนยังมีพลังพร้อมที่จะยกระดับคุณภาพในเรื่องนี้ แต่เมื่อวิ่งลู่เดียวกับ รร.นานาชาติ ผมว่าก็เหนื่อยเหมือนกันครับ ดังนั้นในเรื่องค่านิยม ความต้องการการศึกษาที่เปลี่ยนไปนี้ มองที่จุดเดียวแล้วเดินตามจะกลายเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น คิดแบบง่ายๆ ครับ ถ้าเริ่มจากการทำให้เหมือนก่อน (ซึ่งแน่นอนต้นทุนและศักยภาพกลุ่มเป้าหมายต่างกัน) กว่าจะสร้างการรับรู้ได้ กว่าจะไล่เขาทัน เขาก็จะเดินไปอีกก้าวหนึ่งแล้ว ดังนั้นในเวลานี้กุญแจสำคัญคือการวิเคราะห์กลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงครับ อันนี้ผมก็เลียนแบบญี่ปุ่นครับ เมื่อเขาจะสู้กับค่านิยมใหม่ เขาไม่ได้ทำให้เหมือนนะครับ เขาวิเคราะห์จุดแข็งของตนเองและคู่แข็ง จากการวางกลยุทธ์ใหม่ของการศึกษาญี่ปุ่นใหม่ แนวทางนี้ถึงแม้จะทำงานหนักเหมือนกับการวิ่งเลียนแบบคนอื่น แต่มีโอกาสชนะหรือเป็นผู้นำได้มากกว่าการเดินทางเขาแบบร้อยเปอร์เซนต์ครับ อย่างหลังนี้ต้องรอเขาเพลี้ยงพล้ำเท่านั้นเอง เป็นความจำเป็นที่ รร. จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ตลอดไปจนถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของตนเอง และจะต้องให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงให้มีความชัดเจนมากขึ้น และรร.จะต้องทำตัวเองให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ที่จะต้องสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในทุกระดับตั้งแต่หลักสูตร การสอน การบริหาร พูดได้ว่าทำซ้ำทำเหมือนเดิมเกิน 3 ปี อาจจะล้าสมัย ไม่ทันต่อความต้องการใหม่ของผู้ปกครองของนักเรียนแล้วก็เป็นได้ ที่คุยเรื่องนี้ก็อยากกระทุ้งภาครัฐด้วยครับ ขนาดเอกชนยังเข้าสู่ภาวะเสี่ยงแล้ว ถ้ารัฐยังไม่วางทิศทางการศึกษาที่ชัดเจน ทำกันแบบวนในอ่างแบบปัจจุบันอีก การศึกษาภาครัฐอาจจะสร้างการรับรู้ว่าเป็นการศึกษาสงเคราะห์มากกว่าเป็นการศึกษาภาคพื้นฐาน Q Coaching Team
19 สิงหาคม 2567
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนมากกว่าความรู้ที่นักเรียนต้องจำ ในบริบทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีได้ทำการสังเคราะห์คุณลักษณะสำคัญในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 8 ด้าน ดังนี้ 1. ความสามารถทางศีลธรรมและจริยธรรมอิสลาม การจัดการศึกษาในบริบทอิสลามให้ความสำคัญต่อหลักการทางศีลธรรมและจริยธรรมของศาสนาอิสลาม นักเรียนควรได้รับการสอนให้เดินตามทางที่ถูกต้อง โดยได้รับการนำทางจากคำสอนของอัลกุรอานและหะดีษ พวกเขาเข้าใจว่าการกระทำของพวกเขามีผลกระทบ ไม่เพียงแค่ในโลกนี้ แต่ยังในโลกหน้าอีกด้วย เข็มทิศทางศีลธรรมนี้ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจที่ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อตนเองเท่านั้น แต่ยังต่อชุมชนและสังคมโดยรวมด้วย เช่น การส่งเสริมความยุติธรรม ความเมตตา และความซื่อสัตย์สุจริต 2. สมรรถนะอัลกุรอาน นอกเหนือจากพื้นฐานทางศีลธรรมแล้ว นักเรียนเหล่านี้ยังมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในอัลกุรอาน พวกเขาไม่เพียงแต่สามารถท่องจำโองการต่าง ๆ อย่างแม่นยำเท่านั้น แต่ยังเข้าใจความหมายและนำคำสอนเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย สมรรถนะอัลกุรอานนี้ช่วยให้นักเรียนนำปัญญาอันเป็นสัจนิรันดรองศาสนาอิสลามมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสมัยใหม่ ทำให้ความศรัทธาของพวกเขายังคงเกี่ยวข้องในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 3. ทักษะการเรียนรู้และการคิด ในยุคใหม่นี้ การท่องจำแบบเดิมถูกแทนที่ด้วยทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา นักเรียนได้รับการสนับสนุนให้ตั้งคำถาม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์และอิสระ ทักษะการเรียนรู้และการคิดเหล่านี้ช่วยให้พวกเขาแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมั่นใจ และสร้างนวัตกรรมในวิธีที่สอดคล้องกับค่านิยมของศาสนาอิสลาม 4. เทคโนโลยี ด้วยการเข้าใจถึงความสำคัญของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน นักเรียนเหล่านี้ยังมีความเชี่ยวชาญในเครื่องมือดิจิทัลสมัยใหม่ พวกเขาได้รับการสอนให้ใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัย การสื่อสาร หรือแม้กระทั่งการเป็นผู้ประกอบการ ความชำนาญทางเทคโนโลยีนี้ช่วยให้พวกเขาเชื่อมช่องว่างระหว่างประเพณีและความทันสมัย ทำให้มั่นใจว่าพวกเขายังคงเชื่อมต่อและแข่งขันในโลกที่เป็นสากล 5. ใส่ใจประชาชาติและสิ่งแวดล้อม นักเรียนยังได้รับการปลูกฝังความรู้สึกใส่ใจต่อประชาชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเข้าใจบทบาทของพวกเขาในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมโลก พวกเขาได้รับการสอนให้ใส่ใจต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อประชาชาติและมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ความใส่ใจนี้ขยายไปถึงการเคารพสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้พวกเขาดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนและเป็นผู้สนับสนุนการอนุรักษ์โลกธรรมชาติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ทางศาสนา 6. การรู้เรื่องการเงินและผู้ประกอบการอิสลาม ในโลกที่ความมั่นคงทางการเงินมีความสำคัญ นักเรียนเหล่านี้ได้รับเครื่องมือในการจัดการการเงินอย่างชาญฉลาดตามหลักการอิสลาม พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการหารายได้ที่ฮาลาล การออมและการลงทุน รวมถึงพื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการอิสลาม การรู้เรื่องการเงินนี้ทำให้พวกเขาไม่เพียงแต่สามารถประกันอนาคตของตนเอง แต่ยังสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนได้อีกด้วย 7. ทักษะการสื่อสาร ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นอีกหนึ่งหัวใจของการศึกษา นักเรียนเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนให้สื่อสารความคิดและแนวคิดของตนอย่างชัดเจนและโน้มน้าวใจ ไม่ว่าจะเป็นในภาษาของตนเองหรือภาษาอื่น ๆ ทักษะนี้เป็นสิ่งสำคัญไม่เพียงแต่เพื่อความสำเร็จส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังเพื่อสร้างสะพานแห่งความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมและชุมชนที่แตกต่างกัน 8. การรู้เรื่องสุขภาวะ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้มุ่งเน้นแค่เพียงการพัฒนาทักษะทางปัญญา แต่ยังให้ความสำคัญกับการรู้เรื่องสุขภาวะด้วย นักเรียนได้รับการสอนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และการจัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ การรู้เรื่องสุขภาวะนี้ไม่เพียงแต่ทำให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยให้พวกเขามีความสามารถในการเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
19 สิงหาคม 2567
วันนี้ขอนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน Central Normal School โรงเรียนแห่งแรกและดีเด่นของเมือง Palmerston North, NZ จากภาพประกอบเป็นการแบ่งประเภทของนักเรียนตามความต้องการและศักยภาพของแต่ละบุคคล สิ่งแรกครูจะต้องรู้จักนักเรียนทุกคนว่ามีศักยภาพในการเรียนรู้และความต้องการในการเรียนรู้อย่างไร ในทุกห้องเรียนของโรงเรียนจะมีกระดาษอย่างนี้ติดอยู่ที่ผนังทุกห้อง โดยครูจะแบ่งกลุ่มของนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ตามศักยภาพของแต่ละคน ดังนี้ 1. กลุ่มนักเรียนทีต้องการการกำกับในการเรียน (Directed Learners) คือกลุ่มนักเรียนที่ต้องคอยแนะนำอยู่ตลอดเวลาในเรื่องการเรียน การงานและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ต้องการแบบอย่างให้ดูก่อนปฏิบัติ อาจมีทักษะในการสื่อสารน้อย และไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง กลุ่มนี้ครูต้องติดตามและให้การสนับสนุนการเรียนรู้เป็นพิเศษ 2. กลุ่มนักเรียนที่แนะแนวทางในการเรียน (Guided Learners) คือ กลุ่มนักเรียนที่มีความรับผิดชอบหรือรู้หน้าที่ในระดับหนึ่ง รู้ว่าสิ่งใดที่ดีสำหรับการเรียนรู้ของตน มีความรับผิดชอบ มีความมั่นใจ สามารถทำงานเป็นกลุ่ม และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เป็นต้น นักเรียนกลุ่มนี้เพียงต้องการแนวทางจากครูในบางโอกาสสำหรับการเรียนรู้ของตน 3. กลุ่มนักเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Directed Learners) คือ กลุ่มนักเรียนที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนสูง สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองโดยครูไม่จำเป็นต้องมาชี้นำหรือให้แนวทางแต่อย่างใด มีความมั่นใจและมีสมาธิในการเรียนรู้สูง และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น จากที่สังเกตุนักเรียนกลุ่มนี้ครูเพียงให้กระดาษคำสั่งการทำงานหรืออธิบายเพียงครั้งเดียวก็ปล่อยให้นักเรียนดำเนินการด้วยตัวเองจนเสร้จสิ้นกระบวนการของการเรียนรู้ รายละเอียดของนักเรียนแต่ละกลุ่มสามารถอ่านได้ในภาพประกอบนะครับ และจะเห็นชื่อของนักเรียนที่ครูแปะไว้ในแต่ละกลุ่ม ประเด็นที่น่าสนใจที่ได้สอบถามครูว่าครูแบ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มอย่างไร และเด็กแต้ละคนจะไม่รู้สึกแตกต่างหรือจากการแบ่งประเภทของเด็กในแต่ละกลุ่ม การแบ่งกลุ่มนักเรียน สิ่งแรกคือครูต้องรู้จักลักษณะการเรียนรู้ของเด็กทุกคนว่าเป็นอย่างไร ประการที่สองครูจะร่วมปรึกษาหารือกับผู้ปกครองว่านักเรียนมีคุณลักษณะการเรียนรู้เป็นอย่างไร และประการที่สามผมมองว่าสำคัญมากคือการร่วมพูดคุยกับนักเรียนรายบุคคล โดยให้นักเรียนประเมินตนเองและแจ้งครูว่าเขาเองมีศักยภาพและต้องการเรียนรู้อย่างไร หลังจากได้ข้อสรุปก็จะทำสัญญากันระหว่างครูกับนักเรียนว่าจะเรียนรู้กันอย่างไร และนักเรียนทุกคนสามารถที่จะข้ามกลุ่มได้เมื่อใดก็ตามที่เขาต้องการและมีศักยภาพพร้อมสำหรับวิธีการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ครูกล่าวว่า การจัดการเรียนรู้และแบ่งกลุ่มเด็กไว้อย่างที่เห็นเป็นการสร้างตัวตนและความเข้าใจในชีวิตและศักยภาพของเขาที่แท้จริง เด็กไม่ได้รู้สึกแตกต่างในทางตรงกันข้ามยิ่งทำให้เข้ารู้ว่าเขาจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร และมุ่งมั่นที่จะขึ้นมาเป็นบุคคลที่ทำทุกอย่างได้ด้วยตนเอง การทำให้เหมือนต่างหากที่จะทำลายวิถีและชีวิตการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน เพื่อนครูทุกคนคงจะได้ประโยชน์และอยากให้นำไปใช้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนและจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคลที่แท้จริงนะครับ
16 สิงหาคม 2567