บูรณาการเป็นกุญแจหลักของการสอนเพื่อให้เกิดสมรรถนะขึ้นกับนักเรียนครับ
เหตุผลสำคัญคือ ถ้าไม่บูรณาการก็จะเป็นการสอนแบบนำเสนอเนื้อหาแบบเป็นบทๆ เป็นตอนๆ แล้วค่อยไปผสมกันในข้อสอบปลายภาค หรือการให้ทำโปรเจคสุดท้าย ซึ่งจะเกิดขึ้นสมรรถนะได้ไหม ก็ตอบได้ว่าเกิดได้ครับ ไม่ใช่เกิดไม่ได้ แต่มันจะยากกว่า เริ่มให้ฝึกให้ทำมาตั้งแต่ต้น ที่สำคัญมันจะปั่นทอนพลังของนักเรียนไปเยอะแล้ว โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความเข้าใจเชิงเนื้อหาช้า ซึ่งต่างจากการบูรณาการเนื้อหามาก่อน ทำให้นักเรียนไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับเนื้อหาที่ครูกำหนดไว้ แต่เลือกทำได้จากจุดที่ตนเองเข้าใจก่อน
ทำไมต้องบูรณาการถึงจะพาสู่สมรรถนะได้? คำตอบคือ คำว่าสมรรถนะมันหมายถึง ความสามารถที่เป็นองค์รวมที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อมีอะไรที่เป็น "ประสบการณ์ใหม่" สำหรับนักเรียนแล้ว นักเรียนจะสามารถดึงเอาประสบการณ์เดิมมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาได้ ไม่ใช่แค่ทำเหมือนเดิมในทุกประสบการณ์ใหม่ด้วยวิธีการที่ได้จากประสบการณ์เดิมนะครับ แต่เน้นที่ว่า ปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์ใช้ได้อย่างมีรูปแบบ นั่นหมายถึง เป็นการสอนที่มุ่งอนาคตว่า นักเรียนต้องเอาตัวรอดได้ ซึ่งจะต่างจากรูปแบบการสอนที่แบ่งเนื้อหาเป็นบทๆ ที่จะเน้นการใช้ความรู้นั้นตรงๆ ทำซ้ำได้เหมือนเดิม
การฝึกการใช้ความรู้เป็นหัวใจของการสอนยุคปัจจุบัน ด้วยความหมายว่า หากนักเรียนมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เมื่อเขาต้องเจอกับเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมาย เขาจะมี "ความมั่นใจ" ในการแก้ไขปัญหาโดยการประมวลข้อมูลประสบการณ์เดิมที่หลากหลายมาใช้
แล้วถ้าเนื้อหาเป็นบทๆ แต่มีโจทย์ใหม่ๆ ที่นักเรียนจะฝึกซ้ำๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญก็ได้นิครับ ไม่เห็นต้องบูรณาการเลย '
คำตอบคือ ได้ครับ แต่ต้องคิดต่อว่า ความรู้เพียงท่อนเดียวจะช่วยแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพได้จริงหรือเปล่า กับการรู้ในหลายๆกับการรู้ในหลายๆเรื่องแล้วคัดเลือกเรื่องที่ใช่มาใช้ อันไหนจะมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน ด้วยเหตุนี้ข้อมูล ชุดความรู้ยังคงมีความจำเป็นครับ เพียงแต่การเข้าถึงความรู้ การให้นักเรียนได้รับความรู้นั้นเปลี่ยนรูปแบบไป เน้นการค้นคว้าของนักเรียนมากขึ้น
สิ่งสำคัญคือ ระหว่างการนำเสนอเนื้อหาวิชากับการนำเสนอสถานการณ์ปัญหา อันนี้ที่จะสร้างความสนใจ ความท้าทายในการเรียนให้นักเรียนได้มากกกว่ากัน การทำข้อสอบเสร็จกับการทำผลงานนวัตกรรมขึ้นมาได้หนึ่งชิ้น อันไหนที่นักเรียนน่าจะภูมิใจมากกว่ากัน
จะทำให้เกิดการบูรณาการเนื้อหาได้อย่างไร? ก็เนื้อหามันเยอะ แบ่งเป็นบทๆ จะสอนทีเดียวหลายบทได้อย่างไร แน่นอนครับถ้าเมื่อไรยึดเนื้อหาเพื่อจะสอนก่อนก็จะทำให้เกิดการบูรณาการได้น้อยมาก ดังนั้นอย่างแรกเลยครูจะต้องวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของเนื้อหาก่อน แล้วค่อยหาว่าจะมีโอกาสใดบ้างที่จะนำเอาความรู้กลุ่มนั้นไปใช้ได้จริง เมื่อเราได้สถานการณ์ ปัญหาที่คิดว่าจะเป็นโอกาสในการใช้ความรู้ได้ เราค่อยเลือกต่อไปว่าสถานการณ์ไหนมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากสุด และจะสามารถดึงความสนใจความท้าทายของนักเรียนในการลงมือทำได้มากที่สุด ก็เลือกสถานการณ์นั้นครับ
แน่นอนว่าแต่ละสถานการณ์ไมได้ใช้ความรู้จากวิชาเดียว นอกจากนี้ปริมาณความสำคัญของแต่ละเนื้อหาแต่ละความรู้ที่จะถูกใช้ก็ไม่เท่ากันด้วย ซึ่งอันนี้ความจริงแล้วก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะเดิมแต่ละเนื้อหาเราก็ให้น้ำหนักคะแนนไม่เท่ากันก็ได้ เวลาเรียน
Q Coaching Team