Open Large Modal
×
เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามการแจ้งเหตุ
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
forgotpassword?
login
เข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาและดูรายงานสรุป
เรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
(สำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้น)
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
login
เข้าสู่ระบบ
สำหรับเจ้าหน้าที่ดูแลเว็บไซต์
เข้าสู่ระบบ
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลทั่วไป
ที่มาของโครงการ
พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา
คณะทำงาน
ประวัติโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
รายงานผลการดำเนินงาน
เอกสารเผยแพร่
ฐานข้อมูลโรงเรียน
ฐานข้อมูลโรงเรียนนำร่อง
ฐานข้อมูลโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
กิจกรรมอบรม
ข่าวสารการศึกษา
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมัครสอบครู
ข่าวฝึกอบรม
ข่าวสาร สช.
My School Story
Teacher Forum
Student Voice
Parent Voice
ภาพกิจกรรม
กิจกรรมเด่น
ปฎิทินกิจกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
การบริหาร ระบบ และนโยบาย
หลักสูตร
สื่อ การสอน และประเมินผล
วิจัยในโรงเรียน
เรื่องเล่าจากโรงเรียน
ระบบติดตามโรงเรียนนำร่อง
ติดต่อ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ตั้ง
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา
CBE Thailand
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ)
กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
กระทรวง อว
บพท.
ลงทะเบียน
/
เข้าสู่ระบบ
ปรับขนาดตัวอักษร
-ก
ก
+ก
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
TH
EN
MY
CN
TL
ID
JP
KM
KO
LO
MS
VI
AR
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลทั่วไป
ที่มาของโครงการ
พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา
คณะทำงาน
ประวัติโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
รายงานผลการดำเนินงาน
เอกสารเผยแพร่
ฐานข้อมูลโรงเรียน
ฐานข้อมูลโรงเรียนนำร่อง
ฐานข้อมูลโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
กิจกรรมอบรม
ข่าวสารการศึกษา
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมัครสอบครู
ข่าวฝึกอบรม
ข่าวสาร สช.
My School Story
Teacher Forum
Student Voice
Parent Voice
ภาพกิจกรรม
กิจกรรมเด่น
ปฎิทินกิจกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
การบริหาร ระบบ และนโยบาย
หลักสูตร
สื่อ การสอน และประเมินผล
วิจัยในโรงเรียน
เรื่องเล่าจากโรงเรียน
ระบบติดตามโรงเรียนนำร่อง
ติดต่อ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ตั้ง
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา
CBE Thailand
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ)
กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
กระทรวง อว
บพท.
หน้าหลัก
My School Story
My School Story
เลือกหมวดหมู่
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมัครสอบครู
ข่าวฝึกอบรม
ข่าวสาร สช.
My School Story
Teacher Forum
Student Voice
Parent Voice
เรียงลำดับข้อมูล
ดูเยอะที่สุด
ดูน้อยที่สุด
เลือกช่วงเวลา
ตั้งแต่เดือน
เลือกเดือน
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
ปี
เลือกปี
2568
2567
2566
2565
2564
2563
2562
2561
2560
2559
2558
ถึงเดือน
เลือกเดือน
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
ปี
เลือกปี
2568
2567
2566
2565
2564
2563
2562
2561
2560
2559
2558
ค้นหา
จำนวนMy School Story ทั้งหมด 4 รายการ
หลักสูตรอิสลามศึกษาฐานสมรรถนะ ของ MAI สิงคโปร์
เมื่อกล่าวถึงการบูรณาการอิสลามแล้วโดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการความรู้ศาสนาอิสลามเข้าไปในการเรียนการสอนวิชาสามัญ แต่โรงเรียน MAI ของประเทศสิงคโปร์มีแนวความคิดการบูรณาการในทางกลับกันคือการสอนอิสลามศึกษาแต่บูรณาการสาระสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ข้อดีที่สำคัญคือทำให้การเรียนวิชาศาสนามีความน่สนใจและเห็นหลักการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการเรียนอิสลามศึกษาที่เน้นตัวบทโดยนักเรียนไม่สามารถนำหลักการไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้บูรณาการรายวิชาสามัญเข้าไปในการเรียนการสอนอิสลามศึกษายังช่วยลดจำนวนรายวิชาที่ซ้ำซ้อนระหว่างวิชาสามัญและวิชาศาสนา โดยทั่วไปหลักการอิสลามจากอัลกุรอานและแบบอย่างศาสนทูตนั้นครอบคลุมเนื้อหาสาระทุกด้าน อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะหลักศรัทธาหรือสถานภาพของของพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังกล่าวถึงวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ครอบครัว การค้าขาย การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมไปถึงการเมืองและสงคราม แนวทางการบูรณาการของ MAI จึงดำเนินการโดยการวิเคราะห์กรอบด้านผลลัพธ์ (Outcome) ของผู้เรียนที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในประเทศสิงคโปร์ การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาหรือสถานการณ์จริงที่นักเรียนต้องเผชิญ โดยแบ่งผลลัพธ์ที่คาดหวังของนักเรียนออกเป็น 4 ด้าน (ตารางที่ 4.6) คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับอัลลอฮและศาสนทูตของพระองค์ 2) มุสลิมกับการจัดการตนเองและครอบคครัว 3) ความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับเพื่อนและเพื่อนบ้าน 4) ความสัมพันธ์มุสลิมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และเมื่อวิเคราะห์กรอบข้างต้นแล้วจึงได้จัดรายวิชา สาระการเรียนรู้ รวมถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับเป้าหมาย โดยแบ่งระดับความรู้ไปตามช่วงชั้นของนักเรียน ผู้วิจัยเมื่อได้เห็นการกำหนดสาระกับกรอบเป้าหมาย (Mapping) ที่ทางโรงเรียน MAI ได้จัดทำและกำหนดให้เป็นรายวิชาอิสลามศึกษาแล้วรับรู้ได้ว่าแต่ละหัวข้อมีความน่าสนใจและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบันที่มุสลิมต้องเผชิญ และเมื่อมองย้อนกลับมาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยก็มองเห็นปัญหาตามที่โรงเรียนในสิงคโปร์ได้จัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ในขณะที่การเรียนการสอนอิสลามศึกษาในประเทศไทยยังคงเน้นไปที่ตัวบท สาระเนื้อหาก็ใช้มานานหลายปีที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันไม่ครอบคลุมทั้งหมด ที่สำคัญคือการสอนอิสลามศึกษาที่เน้นประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งน้อยมากที่มีการเรียนการสอนในสาระอิสลามศึกษาในประเทศไทย ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการของการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาคือการนำรายวิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมาสอนในรายวิชาอิสลามศึกษา เช่น การอนุรักษ์ (อากาศ น้ำ และพื้นดิน) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ - พลังงาน (ไฟฟ้า น้ำ น้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ) - ขยะ (โลหะ กระดาษ พลาสติก) การพัฒนาที่ยั่งยืน (ทรัพยากรดิน/การใช้ทรัพยากร) การพัฒนาที่ยั่งยืน (คนและความยากจน) เป็นต้น ตัวอย่างรายวิชาข้างต้นถือเป็นประเด็นทางสังคมและนานาชาติที่ให้ความสำคัญและพูดคุยการอย่างกว้างขวางและด้วยกับเป็นหลักคำสอนในศาสนาจึงเป็นหน้าที่ของครูอิสลามศึกษาที่จะต้องให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียนในรายวิชาอิสลามศึกษา “อิสลามครอบคลุมทุกด้านของการดำเนินชีวิต การดูแลสังคม รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เป็นหนึ่งในหลักการอิสลามที่ชัดเจนในการส่งเสริมมุสลิมให้ปฏิบัติ ดังนั้นยิ่งเป็นหน้าที่ของครูอิสลามศึกษาที่ต้องเน้นย้ำให้แก่นักเรียนในการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของศาสนาในประเด็นต่าง ๆ นี้” (Teacher of Madrasah al-Arabiyah al-Islamiyah Singapore, 2018)
16 สิงหาคม 2567
5366
แชร์
Ummul Qura Bogor โรงเรียนหลักสูตรสามัญบูรณาการอิสลาม
เก็บข้อมูลโรงเรียนเอกชนหลักสูตรบูรณาการอิสลามครั้งที่ 2 ครั้งสุดท้าย ณ โรงเรียน SMPS Islam Terpadu Ummul Qura (UQ), เมือง Bogor ซึ่งห่างจาก Jakarta ประมาณ 3 ชม. โดยรถยนต์ UQ เป็นโรงเรียนหลักสูตรสามัญบูรณาการอิสลาม ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงให้เป็นโรงเรียนเกรด A ซึ่งกระทรวงศึกษาที่อินโดนีเซียแบ่งคุณภาพ รร. ออกเป็น A B C ผอ. โรงเรียนตอบว่าหลักสูตรของโรงเรียนบูรณาการอิสลาม 100% ในทุกรายวิชา เมื่อถาม ผอ. รร. ว่านิยามของการบูรณาการอิสลามคืออะไรที่ รร. เขัาใจ คำตอบคือ "การไม่แยกระหว่างวิชาที่เป็น Naqli (ความรู้จากกุรอานและซุนนะฮ) และ Aqli (ความรู้จากความคิด สติปัญญา ข้อค้นพบของมนุษย์) แต่เป้าหมายของการบูรณาการไม่ได้จบที่การทำหลักสูตร จุดสูงสุดคือการสร้างผู้เรียนที่สามารถมองภาพการดำเนินชีวิต การปฎิบัติ และการประยุกต์โดยการมองอิสลามที่ Shumul (ครอบคลุม) ทั้งตัวบทและบริบท การมีความคิด หรือ Mindset ที่ไม่ได้แยกระหว่างอิสลามกับสามัญแต่มองทั้งสอบเป็นเรื่องเดียวกัน" อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างหลักสูตรบูรณาการอิสลามกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามใน 3 จว. ชดต. ในบ้านเราหลายคนอาจเข้าใจว่า รร. เอกชนสอนศาสนาส่วนใหญ่ใช้หลักสูตรบูรณาการ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ในบ้านเราใช้หลักสูตรคู่ขนาน (Parrallel Curriculum) ซึ่งแยกเป็นวิชาสามัญและศาสนา แต่หลักสูตรบูรณาการคือการสอดแทรก เทียบเคียง ขยายความความรู้ Naqli เข้าไปในวิชาสามัญเลย หรือ การเข้าใจตังแต่แรกเลยว่าวิชาสามัญเหล่านั้น เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิตศาสตร์ เป็นต้น เป็นศาสนาเช่นเดียวกัน เท่าที่ทราบตอนนี้ในพื้นที่ภาคใต้ มีโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาคาร กับโรงเรียนสาธิตอิสลาม ที่มีการปฏิบัติในลักษณะสามัญบูรณาการอิสลาม ในเปอร์เซนต์ที่มากกว่าร้อยละ 30 (คาดการณ์โดยผู้เขียนเอง) ถ้าจะเปรียบเทียบกับ UQ ที่บูรณาการ 100% ถามว่าเหตุใดถึงต้องหลักสูตรบูรณาการ เนื่องจากการศึกษาอิสลามคือการสร้างตัวตนของมุสลิมที่ต้องตอบเจตนารมณ์การศรัทธาต่ออัลลอฮไปพร้อมกับการทำหน้าที่ในฐานะผู้สร้างสรรค์สังคม ปรัชญาการศึกษาอิสลามจึงเน้นการเรียนรู้ทั้งสองด้าน ด้วยกับปรัชญาดังกล่าวผู้จัดการศึกษาจึงทำหลักสูตรให้นักเรียนได้เรียนรายวิชาทั้งสามัญและศาสนา จึงทำให้รายวิชามีมากกกว่าที่ควรจะเป็นหรือเหมาะสมกับพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็ก การบูรณาการอิสลามจะช่วยลดรายวิชาให้น้อยลงโดยผู้เรียนสามารถเข้าใจศาสนาไปในรายวิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์อื่นๆไปพร้อมกัน ถาม UQ ว่าเพียงพอหรือไม่ที่เด็กจะได้เรียนรู้อิสลามกับการเรียนแบบบูรณาการ คำตอบที่ได้คือเพียงพอแล้วสำหรับนักเรียนที่จะสร้างให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ ทนายความ วิศวกร และสาขาวิชาชีพอื่นๆ อีกทั้งยังมองเห็นว่าเด็กนักเรียนมีการแสดงตนของการเป็นมุสลิมที่ดี มีความเป็นผู้นำ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขได้ดีกว่าหรือไม่แตกต่างจากเด็กที่เรียนศาสนามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ถาม UQ ว่ามีเด็กนักเรียนใน รร. ที่ไปเรียนต่อศาสนาในต่างประเทศหรือไม่ คำตอบคือมี แล้วเรียนเป็นอย่างไร คำตอบคือสามารถแข่งขันกับนักเรียนที่จบจาก รร. ที่เน้นศาสนาได้ อะไรคือตัวแปรสำคัญ คำตอบที่ได้คือ การวางพื้นฐานอัลกุรอานและภาษาอาหรับให้เข้มแข็งสำหรับ นร. แต่ รร. ตอบว่ามีจำนวนน้อยเพราะ รร. เน้นสร้างผู้เรียนที่จะทำงานสายสามัญเป็นหลัก ครงสร้างหลักสูตรสามัญบูรณาการของ UQ ว่าเป็นอย่างไร จากภาพคือโครงสร้างหลักสูตรและจำนวนคาบต่อสัปดาห์ที่โรงเรียนพัฒนามาจากหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงฯ ครั้งแรกที่ผมเห็นเมื่อเทียบกับโครงสร้างหลักสูตรของไทยเห็นของ UQ แล้วสบายตาเข้าใจง่ายและไม่ดูแน่นเกินความจำเป็น ขออธิบายประเด็นสำคัญคร่าวๆ ดังนี้ 1. Kelompok (กลุ่ม) A กับ B คือมาตรฐานรายวิชาที่กระทรวงกำหนด เป็นมาตฐานทั่วประเทศ แต่ รร. สามารถปรับเปลี่ยนบางส่วนเพิ่มเติมได้ ส่วน kelompok C คือรายวิชาเพิ่มเติมที่โรงรียนสามารถเพิ่มเติมได้เพื่อสร้างอัตลักษณ์ 2. Kelompok A ข้อ 1 คือรายวิชาศาสนาที่กระทรวงบังคับ คือวิชา อิสลามศึกษาและจริยธรรม นักเรียนจะเรียนเพียงสัปดาห์ละ 3 คาบ และเมื่อรวมกับ kelompok B ข้อ 5 วิชาอัลกุรอานและท่องจำ 4 คาบ โดยรวม นร. จะเรียนวิชาศาสนา จำนวน 7 คาบต่อสัปดาห์ ไม่นับภาษาอาหรับซึ่งนับอยู่ในหมวดภาษาต่างประเทศ ในขณะที่ รร. เอกชนสอนศาสนาอิสลามใน สาม จว. จะเรียนวิชาศาสนาประมาณ 15-22 คาบต่อสัปดาห์ 3. ถามโรงเรียนว่าพอหรือไม่กับการเรียนศาสนา 7 คาบต่อสัปดาห์ รร. ตอบว่าไม่พอ จึงได้เพิ่มกิจกรรมเสริมหลักสูตร kelompok C ข้อ 1 BPI กับ PIAI (PIAI จะอธิบายในข้อถัดไป) BPI คือ Bina Peribadi Islami หมายถึง การสร้างตัวตนมุสลิมคุณภาพ ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ระบุไว้ในโครงสร้าง จำนวน 2 คาบต่อสัปดาห์ คือ กิจกรรมกลุ่มศึกษาอิสลาม นั่นเอง หรือ ในตอนแรกคิดว่าจะรวมไว้ในวิชาอิสลามศึกษา แต่เมื่อไปดูในรายละเอียด การทำกลุ่มศึกษาไม่ใช่การเรียนอิสลามแบบตัวบท 100% เหมือนวิชา Kelompok A ข้อ 1 แต่เป็นการเรียนรู้อิสลามแบบ STEM ที่บูรณาการศาสตร์การสร้างตัวตน การใช้ชีวิต การปนะยุกต์ใช้ในสังคมบนฐานอิสลามที่คำนึงถึงบริบทของพื้นที่ที่ นร. ต้องใช้ชีวิตปัจจุบันและอนาคต กิจกรรม BPI จึงเป็นสหศาสตร์อย่างแท้จริงที่รวมเอาปรัชญาอิสลาม หลักการ สังคมศาสตร์ การเมือง วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม พหุวัฒนธรรม และระเบียบวินัย ความเป็นพี่น้อง รวมถึงอื่นๆ ที่มุ่งสร้างนักเรียนที่สามารถใช้ชีวิตด้วยหลักการอิสลามอย่างเข้าใจสถานการณ์และสภาพบริบทที่สามารถเปลี่ยนแปลงปรับตัวไปได้อย่างต่อเนื่อง 4. PIAI = Pembiasan Ibadah Dan Adab Islami ผมค่อนข้างประทับใจอย่างมากกับกิจกรรมนี้ไม่รู้จะตั้งชื่อภาษาไทยว่าอย่างไรดี เพราะไม่เคยพบเห็นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในประเทศไทย ผมขอตั้งชื่อว่า "กิจกรรมอิสระซุนนะฮและศาสนกิจในชีวิตประจำวัน" แม้ไม่ได้กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรแต่มีอยู่ในตารางเรียนของทุกวัน ประมาณวันละ 30 นาที PIAI คือการทำตามซุนนะฮหรือการทำตามแบบอย่างท่านศาสนทูต เช่น อ่านกุรอาน ซิกรุลลอฮ (กล่าวคำรำลึกถึงอัลลอฮ) ขอพรหรือดุอา การช่วยผู้อื่น กิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น โดยแต่ละวันนักเรียนแต่ละคนหรือกลุ่มนักเรียนจะทำกิจกรรม PIAI ต่างกันไปขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและกิจวัตรที่นักเรียนจะปฏิบัติในแต่ละวัน ผมลองไปสังเกตช่วงเวลา PIAI ว่านักเรียนทำอะไรกันบ้าง ส่วนใหญ่จะละหมาดดุฮา อ่านกุรอ่าน ทำความสะอาดมัสยิดและพื้นที่ห้องเรียน ติวเพื่อนทำการบ้าน และออกกำลังกาย กิจกรรมนี้พยายามสร้างผู้เรียนที่ทำอามัลหรือการปฎิบัติซุนนะฮที่เป็นกิจวัตรเป็นนิสัยและทำให้เป็นปรกติในฐานะตัวตนมุสลิมที่ดี 5. กิจกรรม kelompok C ข้อที่ 4 เป็นกิจกรรมสำหรับพี่ ม. 3 เท่านั้นที่จะต้องเตรียมสอบระดับชาติ เช่นเดียวกับพี่ ม.6 ซึ่งโรงเรียนกำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร คือกิจกรรมทบทวนเนื้อหา ติวเข้ม ฝึกทำข้อสอบ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สนามสอบ 6. ในหนึ่งสัปดาห์นักเรียนจะเรียน 5 วัน จันทร์-ศุกร์ วันละประมาณ 5 วิชาเท่านั้น ไม่ได้มากเหมือน รร. เอกชนสอนศาสนาบ้านเราที่เรียนวันละเกือบ 10 วิชา และเรียน 6 วัน สำหรับหลายโรงเรียน จะเห็นได้ว่าโรงเรียนบูรณาการอิสลามจะไม่เน้นเนื้อหาที่เป็นวิชาเรียนให้มาก แต่จะบูรณาการอิสลามในรายวิชาที่มีอยู่แล้วกับวิถีปฎิบัติในชีวิตประจำวัน ในขณะที่บ้านเรายังคงเรียนเป็นเนื้อหาแต่ให้นักเรียนปฏิบัติน้อย ส่วนตัวประทับใจที่โรงเรียนตอบว่า "ซุนนะฮหรืออิบาดะไม่จำเป็นต้องให้เป็นวิชาเรียนให้นักเรียนมาท่องจำและทำข้อสอบ แต่ให้นักเรียนปฏิบัติเลย และวัดผลจากการปฎิบัติ และครูเองก็สอนนักเรียนด้วยกับการทำตัวเป็นแบบอย่างในซุนนะฮหรือความดีที่เป็นวิถีชีวิตเหล่านั้น"
16 สิงหาคม 2567
5350
แชร์
SMI Hidayah Johor Baru โรงเรียนบูรณาการวิถีอิสลาม
SMI Hidayah Johor Baru (Hidayah Islamic School) ซึ่งตั้งอยู่ที่ Kampung Sinaran Baru, Km 26, Jalan Johor 81300 เว็บไซต์โรงเรียน http://www.hidayah.edu.my เป็นโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์จากการสอบ SPM อันดับหนึ่งของเครือข่ายโรงเรียน IKRAM Musleh และเป็นโรงเรียนที่ได้รับการประเมินในระดับ 5 ดาวจากหน่วยงานต้นสังกัด คือ สำนักงานการศึกษาเอกชน ภายใต้การดูแลของรัฐยะโฮร์ และอีกหน่วยงานที่รับรองคุณภาพคือ IKRAM Musleh >>>>>ผมเดินเข้าไปในโรงเรียนวันนี้สิ่งแรกที่เจอก็ทำให้ประทับใจในทันที คือ มีนักเรียนชายอยู่กลุ่มหนึ่งกำลังนั่งเปิดอัลกุรอานเพื่อท่องจำ โดยการจับคู่และผลัดกันท่อง ผลัดกันตรวจทาน ในระหว่างที่กำลังรอครูมุรอบบีย์มาเริ่มกิจกรรม Usrah หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Halaqah สอบถามได้ความว่าในทุก ๆ วันพุธของแต่ละสัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 07.45 - 08.45 ครูและนักเรียนทุกคนจะต้องร่วมทำในกิจกรรม Usrah นี้ โดยฝ่ายตัรบียะห์ ในชื่อ Unit Pembangunan Insan จะทำหน้าที่แบ่งนักเรียนแต่ละชั้นออกเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ ไม่เกิน 8 คน บางกลุ่มอาจจะมีสมาชิก เพียง 5-6 คน โดยมีมุร็อบบีย์คอยดูแล 1 คน/กลุ่ม เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มุร็อบบีย์สามารถดูแลและติดตามได้อย่างใกล้ชิดและทั่วถึง กิจกรรม Usrah เป็นเสมือนหัวใจหลักของการพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม >>>>>เนื่องจากหลักสูตรที่นี่เป็นหลักสูตรที่เอามาจากหลักสูตรของชาติ KPM ซึ่งเป็นวิชาสามัญและวิชาภาษาที่มีการสอบวัดความรู้ ความสามารถโดยข้อสอบระดับชาติ และหลักสูตรของ IKRAM Musleh ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับศาสนาและวิถีการดำเนินชีวิตอิสลาม เป็นหลัก ผมจึงถามว่า "แล้วปกติสิ่งที่เรียนรู้ในกิจกรรม Usrah กับในชั้นเรียนมันจะซ้ำซ้อนกัน หมายถึง เรียนแล้ว เรียนอีก จนทำให้นักเรียนรู้สึกเบื่อหน่ายมั้ย?" ผู้บริหาร SMIH ตอบว่า ไม่ใช่ซ้ำซ้อน แต่มองว่าทุกอย่างไปด้วยกัน และเสริมกันมากกว่า โดยใน Usrah จะเน้นเรื่องของการปลูกในเรื่องของแนวคิดเพื่อนำสู่การปฏิบัติและการปรับใช้จริงในชีวิต แต่ในขณะที่ในคาบเรียนปกติเป็นนั้น ส่วนมากจะเน้นเรื่องของทฤษฏีและความเข้าใจเป็นหลัก บางส่วนอาจจะเกี่ยวข้องกับข้อจำกัดของครูผู้สอนที่บางครั้งอาจจะไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดและปลูกฝังแนวคิดเท่ากับมุร็อบบีย์ที่ถูกคัดเลือกให้ทำหน้าที่ในการดูแล Usrah >>>>>UPI หรือทีมตัรบียะห์ ของ SMIH มีความสำคัญมาก นอกจากดูแลและบริหารจัดการกิจกรรม Usrah แล้ว ยังมีกิจกรรมตัรบียะฮฺอื่น ๆ ที่สำคัญที่จะช่วยสร้างบุคลิกภาพมุสลิมที่สมบูรณ์ เช่น อบรม (Daurah) กียาม(Qiyam di Rumah) ค้างแรม(Qiyam di Sekolah) ค่าย(Mukhaiyam) และอื่น ๆ ซึ่งทาง SMIH ภายใต้ทีมงาน UPI ใด้ดำเนินการอย่างเป็นระบบมาก โดยการจัดแบ่งครูที่คอยติดตามและให้คำปรึกษาแต่ละระดับชั้น จำนวน 3 คน เพื่อติดตามและดำเนินการกิจกรรมตัรบียะหฺ ดังกล่าวข้างต้นให้เป็นไปตามปฏิทินที่ทาง UPI ได้กำหนดไว้ >>>>>การบูรณาการอิสลามที่นี่ถือว่ามีความชัดเจนมาก ฟังจากนโยบายที่ผู้บริหารได้บอกว่า ครูทุกคน ทุกวิชา ทุกกิจกรรม ทุกหน้าที่จะต้องปลูกฝัง และสอดแทรกสิ่งที่อิสลามสอนในเรื่องนั้น ๆ เสมอ ในทุกครั้งที่ทำกิจกรรม และที่ชัดเจนที่สุดคือการบูรณาการอิสลามในด้านบรรยากาศ ซึ่งจะพบว่าในทุก ๆ พื้นที่ของโรงเรียนจะมีการข้อความ คำกล่าว คำสอนของอิสลาม และการปฏิบัติเป็นแบบอย่างของครูและนักเรียนตามคำสอนอิสลาม ในชั้นเรียนมีการพูด การกล่าว ป้ายนิเทศ ที่สำคัญเลย คือ นักเรียนทุกคนมีอัลกุรอานประจำตัว พกพาติดตัว ยิ่งสร้างบรรยาอิสลามให้เห๋นชัดเจนมากในโรงเรียน >>>>>ช่วงสุดคาบท้ายของวันนี้ นักเรียนชายมีกิจกรรมในเครื่องแบบ KRSM บ้านเราก็คือลูกเสือ ในขณะที่นักเรียนหญิงเป็นกิจกรรมชมรมด้านกีฬา เสียดายวันนี้ฝนตกก็เลยไม่ได้รับชมการจัดกิจกรรมของ KRS แบบจัดเต็ม ไว้โอกาสหน้าค่อยมาเยี่ยมชมใหม่ อินชาอัลลอฮฺ >>>>>นอกจากนี้ก็ได้เดินชมการเรียนการสอนของห้องเรียนต่างๆ ด้วย ซึ่งพบว่าครูผู้สอนเน้นการเรียนการสอนแบบ Active Learning มาก โดยเฉพาะวิชาศาสนา จากการสอบถามผู้บริหารและรองฯ ฝ่ายวิชาการ ในประเด็นการบูรณาการอิสลามของโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีคุณลักษณะการเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ พบว่ามี 4 รูปแบบหลัก 1. การบูรณาการในรายวิชา ตรงนี้ครูผู้สอนทุกท่าน ทุกรายวิชาทราบดีว่าจะต้องบูรณาการอิสลามในทุก ๆ ชั้นเรียน ทุก ๆ ครั้งของการสอน โดยทางโรงเรียนมีเครื่องมือที่เป็นแหล่งข้อมูลให้ครูได้ค้นคว้า Akidah Merentasi Kurrikulum เป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีสำหรับครูในการเลือกเนื้อหานำสู่การบูรณาการอิสลาม โดยการสอนในทุกรายวิชา ทุกเนื้อหา ยึดหลักสำคัญ 2 ประการ คือ หนึ่ง ผู้เรียนจะต้องยิ่งใกล้ชิดกับผู้สร้าง (Taqqarub ila Allah) และ สอง ผู้เรียนมีจิตสำนึกเพื่อสังคม (Nafi’ li Ghairih) บางครั้งในคาบเรียนอาจจะไม่มีการนำเสนอหลักฐานจากอัลกุรอานหรืออัลหะดีษ เนื่องจากบางเนื้อหาไม่สามารถหาหลักฐานได้โดยตรง แต่ครูก็ต้องพยายามปลูกฝังอิสลามในหลักการข้อสอง คือ จิตสำนึกเพื่อสังคม จากหลักการดังกล่าวเมื่อเข้าสังเกตชั้นเรียนก็จะพบว่ามีการบูรณาการอิสลามในทุกคาบของชั้นเรียน ถ้าถามว่าแล้ววิชาด้านอิสลามจะบูรณาการอิสลามอย่างไร คำตอบง่าย ๆ ก็คือบูรณาการความรู้สมัยใหม่และการปลูกฝังจิตสำนึก 2. การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนผ่านระบบตัรบียะห์ (Pembangunan Syahksiah Murid) (จริง ๆ แล้ว ข้อนี้คือ วิธีการสำคัญในการปลูกฝังวิถีชีวิตอิสลามกับนักเรียนเลย) สำหรับข้อนี้มีกลุ่มงานที่สำคัญดูแลอยู่ คือ Unit Pembangunan Insan (UPI) กลุ่มงานพัฒนามนุษย์ หรือกลุ่มงานตัรบียะห์ โรงเรียนได้กำหนดกิจกรรม Pembangunan Syahksiah Murid หลัก 5 อย่าง คือ หนึ่ง Usrah (กลุ่มศึกษาอิสลาม) สอง Daurah (บรรยาย/อบรม) สาม Qiyam (การละหมาดยามค่ำคืนที่บ้าน) เป็นกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติเอง สี่ Mabeet (การค้างแรมที่โรงเรียนเพื่อละหมาดยามค่ำคืน) และ ห้า Mukhaiyam(ค่ายพัฒนาบุคลิกภาพ) การดำเนินการไปอย่างเป็นระบบมาก โดยการจัดแบ่งครูที่คอยติดตามและให้คำปรึกษาแต่ละระดับชั้น จำนวน 3 คน เพื่อติดตามและดำเนินการกิจกรรมตัรบียะหฺ โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้ครูทุกคนก็จะต้องเข้าร่วมเพราะเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักในการพัฒนาครูให้เป็นคนที่พร้อมในการเป็นแบบอย่างและสามารถบูรณาการอิสลามได้อย่างมีคุณภาพ 3. การสร้างบรรยากาศอิสลามในทุกพื้นที่ของโรงเรียน จะพบว่าในทุกพื้นที่ของโรงเรียนจะเต็มไปด้วยข้อความ คำพูด คำกล่าว คำสอนอิสลามที่ปลูกฝังคุณค่าอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นอาคารเรียน ห้องเรียน อาคารมัสยิด ผนังต่าง ๆ บอร์ดความรู้ต่าง ๆ รวมถึงห้องประกอบต่าง ๆ นอกจากบรรยากาศไม่มีชีวิตดังกล่าวแล้ว ยังมีบรรยากาศที่มีชีวิตจากทั้งครูและนักเรียนที่ร่วมกันสร้างด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพูด การกล่าวคำทักทายกันด้วยมารยาทอิสลาม การแต่งกายที่ดีเป็นแบบอย่างซึ่งกันและกัน เป็นต้น 4. กิจกรรมส่งเสริมวิถีชีวิตมุสลิม ในข้อนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอยากแนะนำ 2 กิจกรรม ได้แก่ 4.1 กิจกรรมส่งเสริมอิสลาม โรงเรียนกำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องทำ Campaign ส่งเสริมความดีอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี โดยจะต้องทำอย่างน้อยเป็นเวลา 2 เดือนต่อเนื่อง โดยจะแบ่งเป็นทีละระดับชั้น ทุกคนในแต่ละระดับชั้นจะต้องร่วมกันวางแผนออกแบบ โดยมีครูที่ปรึกษา 3 คน ของแต่ละระดับชั้นคอยให้คำปรึกษา ทางโรงเรียนโดยหน่วย UPI จะเป็นผู้กำหนด Theme แต่ละเดือนว่าจะต้อง Campaign เกี่ยวกับอะไร อาทิเช่น เดือนกันยายนที่ผมไปเก็บข้อมูล ซึ่งถูกกำหนดภายใต้ Theme บ้าน (Rumah) ช่วงนี้นักเรียนก็จัดรณรงค์ร่วมกันบริจาคทุกวักตูละหมาด และทุกช่วงเวลาที่มีโอกาส เพื่อนำเงินบริจาคนี้ไปช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมในแถบตะวันออกกลางที่ถูกอธรรม สรุปคือ ตลอดทั้งปีจะมีการ Campaign ส่งเสริมความดี ทั้งหมด 5 Theme โดยนักเรียนทุกคนต้องมีส่วนร่วม 4.2 กิจกรรม Tilawah Quran โดยโรงเรียนกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์ อังคาร และพฤหัส นักเรียนทุกคนจะต้องนำอัลกุรอานลงมาที่ลานเข้าแถวด้วย เพื่อทำกิจกรรมอ่านอัลกุรอานพร้อมกันที่ลานเข้าแถว อ่านพร้อมกันด้วยการอ่านแบบตัรตีล ช้า ๆ ชัดถ้อยชัดคำ ใช้เวลาในการอ่านร่วมกัน 15 นาที/วัน กิจกรรมนี้ทางโรงเรียนหวังว่าครบ 1 ปี จะสามารถคอตัมอัลกุรอานได้ 1 ครั้ง
16 สิงหาคม 2567
4319
แชร์
โรงเรียนญี่ปุ่นในประเทศไทย
โรงเรียนญี่ปุ่นในประเทศไทย โรงเรียนแห่งนี้ใหญ่ที่สุดและก่อตั้งเป็นที่แรกของโลกด้วย เพราะผู้บริหารโรงเรียนพูดว่าอย่างนั้น ได้มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์ การเปิดชั้นเรียน ชั้น ป.2 วิชาคณิตศาสตร์ และอบรมจากวิทยากรจากมหาวิทยาลัย Tokyo Gakugei ซึ่งเป็นผู้ร่วมจัดกับ โรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น แห่งนี้ และร่วมสนับสนุนโดย ศธ. ญี่ปุ่น สถานทูตญี่ปุ่นในเทศไทย ศธ.ไทย และคณะศึกษาศาสตร์ ม. ขอนแก่น ร่วมกับบรรดาคณาจารย์ผู้คร่ำหวอดในประเด็น Lesson Study ทั่วประเทศ แต่ประเด็นที่ผมสนใจมากกว่าคือวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นกับแนวทางการจัดการศึกษาซึ่งขอสรุปประเด็นบทเรียน 11 ประเด็นดังนี้ 1. การเริ่มประชุมตรงเวลาที่นัดหมายคือ 14.15 น. ตรงตามเวลาเปะ และเลิกตามเวลาเปะ ไม่มีเลยกำหนดเวลา 2. เมื่อเข้าห้องประชุมเห็นน้ำขวดกับหลอดตั้งกองอยู่ในตระกร้าบนโต๊ะหน้าสุด เมื่อพวกเราเข้าไปก็ไม่มีใครหยิบจนเขาต้องมาบอกว่าเชิญหยิบน้ำไปได้ครับ คนไทยอาจมองว่าไม่บริการช่วยวางบนโต๊ะแต่ละคน แต่คนญี่ปุ่นมองว่าคือความรับผิดชอบของแต่ละคน 3. มีพิธีการเปิดกล่าวต้อนรับจาก ผอ. รร. และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นปรกติแต่แต่ละคนพูดไม่เกิน 1 นาที 4. การศึกษาญี่ปุ่นเน้นวิสัยทัศน์ในห้องเรียนมากกว่าของโรงเรียน ผมพยายามสังเกตตั้งแต่ทางเข้าไปข้างบนก็ไม่เห็น ถ้าบ้านเราติดหราเลยว่าวิสัยทัศน์ของโรงเรียนคืออะไรให้คนได้เห็นดูเท่ๆ 5. วิสัยทัศน์ชั้นเรียนของเขาคืออะไร ตอบ "คิดร่วมกันเป็นกลุ่ม ทำความเข้าใจให้กว้างและลึก เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของตัวตน" (ภาพประกอบก่อนสุดท้ายภาษาญี่ปุ่นกล่องบนสุด) 6. สโลกแกนเท่ ๆ ประทับใจและผมว่าเหมาะและเข้าใจเด็กมากที่สุด คือ "สนุกสนาน เป็นมิตร และอดทน" ถ้า รร. ที่บ้านผมก็ "เรียนดี วิชาการเด่น เน้นกีฬา" อะไรประมาณนี้ 7. คุณครูทุกคนดูจริงจังแต่ก็มีหัวเราะบ้างตามสไตล์คนญี่ปุ่นแต่ดูแล้วให้ความรู้สึกว่าครูเอาจริงเอาจังมาก 8. การศึกษาญี่ปุ่นให้ความสนใจต่อการที่เด็กฟังครูเป็นรองแต่การที่เด็กฟังเพื่อนเป็นหลัก เห็นชัดว่าเด็กญี่ปุ่นตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนออย่างมีสมาธิและมีการตอบกลับด้วยอารมณ์และเสียงชัดเจน เด็กไทยฟังแต่ครูเพราะกลัวครู 9. การอบรมไม่มีเบรคไม่มีอาหารเลี้ยงนอกจากน้ำหนึ่งขวด ผมมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นภาระของ รร. อยากให้บ้านเราเป็นอย่างนี้ ความรู้ที่ได้จากการไปดูงานและอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายมากพอที่จะแทนคุณค่าและมูลค่าที่ได้รับ 10. การสอนของญี่ปุ่นไม่สนใจที่คำตอบเพราะมันมีคำตอบเดียวแต่ให้ความสำคัญกับวิธีการที่หลากหลายเพื่อไปสู่คำตอบ ยิ่ง นร. คิดวิธีการได้มากชี้ได้ว่าเขาได้ฝึกคิดด้วยแนวทางที่หลากหลาย 11. การอบรมเพียงครึ่งวันแต่มีประสิทธิภาพเหมือนบ้านเราอบรม 1 วัน ใช้เวลาและจัดกิจกรรมได้กระชับคุ้มค่ามาก แถม 12. คนญี่ปุ่นถอดรองเท้าออกจากผนังแอบถามเขาว่าทำไม เขาบอกว่าเราต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา โรงเรียนนี้มี นร. เกือบสามพันคนเคยมากถึงสามพันกว่าคนในปี 2014 โรงเรียนรับเฉพาะเด็กญี่ปุ่นและใช้หลักสูตรญี่ปุ่นแต่ที่เด่นคือเด็กเก่งภาษาอังกฤษด้วย มีรถรับส่งกว่า 170 คัน บรรยากาศเมื่อเข้าไปเหมือนอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (แต่ตัวเองไม่เคยไปญี่ปุ่นฟังเขาบอกอีกที) ข่าวดีว่ามีการเอมโอยูระหว่าง ศธ. ไทย กับ ศธ. ญี่ปุ่นแล้ว รร. แห่งนี้จะป็นแม่ข่ายในการสนับสนุน รร. ในประเทศไทย หลังจากนี้หลายคนจะมีโอกาสมาเยี่ยมที่นี่ คนญีปุ่นบอกว่า "เขายินดีจะตอบแทนประเทศไทยด้วยกับการพัฒนาการศึกษาไทย" หวังจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการศึกษาบ้านเรานะครับ
12 กรกฎาคม 2567
5428
แชร์
ช่วยเหลือ |
นโยบายของเว็บไซต์ |
นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัย |
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Copyright 2024
islamicschoolsandbox.org
All rights reserved
Powered by
CityVariety Corporation.