ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
จำนวนภาพกิจกรรม ทั้งหมด 14 รายการ
วันนี้ (28 มกราคม 2568) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนายุทธศาสตร์คณะอนุกรรมการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาจังหวัดปัตตานีโดยใช้ Business Model Canvas ภายใต้ชุดโครงการหลัก : การพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่ายทางการศึกษาในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริหารและการจัดการเรียนรู้เพื่อลดการสอนเพิ่มการเรียนรู้สู่การสร้างสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี ณ โรงแรมปาร์คอินทาวน์ จังหวัดปัตตานี พิธีเปิด โดย ดร.สุริยา หมาดทิ้ง ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทของคณะอนุกรรมการพัฒนาโรงเรียนเอกชน พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการทำงานร่วมกันในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กิจกรรมได้แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าได้มีการบรรยายพิเศษโดย ผู้แทนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณดี สุทธินรากร ได้กล่าวถึงความสำคัญของกลไกการพัฒนาโรงเรียนในบริบทเฉพาะของพื้นที่ ต่อด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการโดย ผศ.ดร.หมะหมูด หะยีหมัด นำเสนอวิธีการใช้ Business Model Canvas ในช่วงบ่าย ได้มีการวิพากษ์สมรรถนะผู้เรียน (I-QUALITY) สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี และการประชุมปิดท้ายด้วยการสรุปแผนการดำเนินงานและขั้นตอนต่อไป เพื่อผลักดันให้ยุทธศาสตร์ที่ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามต่อไป
28 มกราคม 2568
เมื่อวันศุกร์ ที่ 27 ธันวาคม 2567 ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์” ณ ห้องประชุมอิมามอัลบุคอรีย์ ชั้น 2 ภายใต้โครงการ “การพัฒนากลไกขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริหารและการจัดการเรียนรู้เพื่อลดการสอนและเพิ่มการเรียนรู้สู่การสร้างสมรรถนะผู้เรียนสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี” การประชุมนี้มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาและกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงสู่การจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยและตอบโจทย์ยุคปัจจุบัน การระดมสมองเพื่อพัฒนานวัตกรรม และกิจกรรมนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้พัฒนาทักษะการเรียนการสอน และสร้างนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความร่วมมือระหว่างครูและทีมวิจัย เพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าในการศึกษา นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลามได้เปิดโอกาสให้ครูผู้เข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ครูได้สัมผัสสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติและการทดลอง อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและแนวทางสำหรับการปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งเชื่อมโยงผู้สอนกับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และส่งเสริมความร่วมมือในการยกระดับการศึกษาในทุกมิติ  
27 ธันวาคม 2567
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2567 มีการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ซึ่งในที่ประชุมได้มีการแนะนำโครงการฯ เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือด้านการศึกษา นำโดยโครงการวิจัยหลัก? “การพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่ายทางการศึกษาในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริหารและการจัดการเรียนรู้เพื่อลดการสอนเพิ่มการเรียนรู้สู่การสร้างสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี” โครงการวิจัยย่อยที่ 1? “นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษฐานสมรรถนะบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี” และ โครงการวิจัยย่อยที่ 2? “การพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดการสอนเพิ่มการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี”
26 ธันวาคม 2567
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567 คณะผู้วิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 2 “การพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดการสอนเพิ่มการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี” ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการออกแบบยกร่างเเละพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเเบบมีส่วนร่วมเพื่อลดการสอนเพิ่มการเรียนรู้ ให้กับผู้บริหารโรงเรียน ณ ห้องประชุมอิหม่ามอัลบุคอรีย์ ชั้น 2 คณะวิทยาการอิสลาม   ทั้งนี้การประชุมในครั้งนี้ได้รับความสนใจเเละความร่วมมือจากผู้บริหารที่พร้อมจะพัฒนาไปด้วยกัน #นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา #Islamicschoolsandbox #พื้นที่นวัตกรรม
24 พฤศจิกายน 2567
วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2567) คณะผู้วิจัยโครงการวิจัยย่อยที่ 1 “นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษฐานสมรรถนะบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี” ได้จัดการประชุมรับทราบแนวทางการใช้นวัตกรรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ณ ห้องประชุมอิหม่ามอัลบุคอรีย์ ชั้น 2 คณะวิทยาการอิสลาม การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบแนวทางการนำนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมไปใช้ในห้องเรียน ทั้งนี้ การประชุมได้รับความสนใจจากครูผู้สอน และผู้เข้าร่วมทุกท่าน ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน
21 พฤศจิกายน 2567
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 ได้มีการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่ายทางการศึกษาในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริหารและการจัดการเรียนรู้เพื่อลดการสอนและเพิ่มการเรียนรู้สู่การสร้างสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี” ณ ห้องประชุมอิมามอัลบุคอรีย์ ชั้น 2 คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยปัตตานี โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21   กิจกรรมในช่วงเช้าของวันแรก มีการนำเสนอความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เช่น การสร้างบอร์ดเกมบูรณาการอิสลามเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงกระบวนการ การพัฒนานิทานคุณธรรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตสื่อวิดีโอเอนิเมชันเพื่อการศึกษาศาสนาอิสลาม ซึ่งแต่ละกลุ่มโรงเรียนได้แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และแนวทางใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ในช่วงบ่ายของวันแรก มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความท้าทายในการพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันแบ่งปันความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแนวคิดและวิธีการ รวมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำข้อเสนอแนะที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น   กิจกรรมของวันที่สอง (29 ตุลาคม 2567) ยังคงดำเนินต่อไป โดยมีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในช่วงเช้าเพื่อปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ตามข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนความคิดในวันก่อนหน้า ผู้เข้าร่วมได้ทำการปรับแต่งนวัตกรรมให้เหมาะสมกับการใช้งานในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม พร้อมกับการนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ ในการนำไปใช้จริง   ในช่วงบ่าย กิจกรรมได้เน้นไปที่การนำเสนอนวัตกรรมที่ได้รับการปรับปรุง โดยแต่ละกลุ่มโรงเรียนได้นำเสนอโครงการของตนอย่างสร้างสรรค์และน่าสนใจ นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนการนำไปใช้จริงในโรงเรียน และการวางแนวทางในการติดตามและประเมินผล เพื่อตรวจสอบว่านวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนี้จะสามารถยกระดับกระบวนการเรียนรู้และเสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียนได้อย่างแท้จริงในอนาคต
29 ตุลาคม 2567
เมื่อวันที่ 13-16 ตุลาคม 2567 คณะผู้วิจัยภายใต้โครงการวิจัยย่อยที่ 1 “นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษฐานสมรรถนะบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี” ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารฐานสมรรถนะบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี กิจกรรมอบรมตลอดระยะเวลา 4 วัน ประกอบด้วยการบรรยายและฝึกปฏิบัติในหัวข้อต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ การศึกษาแบบฐานสมรรถนะ การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมในการสื่อสารภาษาอังกฤษ การออกแบบบทเรียนที่เชื่อมโยงสมรรถนะภาษาอังกฤษกับบริบททางวัฒนธรรม และการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเข้าใจวัฒนธรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในงานดังกล่าวยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุวัจน์ สองเมือง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ซัมซู สาอุ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มาร่วมวิพากษ์ผลงานสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป.
15 ตุลาคม 2567
เมื่อวันที่ 5-6 กันยายน 2567 คณะผู้วิจัยหลักภายใต้โครงการ “การพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่ายทางการศึกษาในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริหารและการจัดการเรียนรู้เพื่อลดการสอนและเพิ่มการเรียนรู้สู่การสร้างสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี” ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “นวัตกรรมการสอนเพื่อสร้างสมรรถนะผู้เรียนอิสลามศึกษา” ณ ห้องประชุมอิมามอัลบุคอรีย์ ชั้น 2 คณะวิทยาการอิสลาม วันที่ 5 กันยายน 2567 ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับฟังการบรรยายจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุไม บิลไบ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่ได้กล่าวถึงแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการสอนที่สอดคล้องกับการสร้างสมรรถนะในผู้เรียน ทั้งในด้านวิชาการและกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ ในช่วงบ่าย กิจกรรมอบรมได้แบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็น 3 กลุ่มย่อย โดยนักศึกษาวิชาการสอนอิสลามศึกษาได้ร่วมเป็นผู้ช่วยวิทยากรในกระบวนการฝึกปฏิบัติการพัฒนาสื่อการสอน ซึ่งแต่ละกลุ่มได้พัฒนาสื่อการสอนในรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่: กลุ่ม 1: บอร์ดเกมบูรณาการอิสลาม ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ กลุ่ม 2: นิทานคุณธรรมอิสลามอิเล็กทรอนิกส์ เน้นการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในเยาวชน กลุ่ม 3: สื่อวีดีโอแอนิเมชันอิสลามศึกษา เพื่อนำเสนอเนื้อหาศาสนาในรูปแบบที่น่าสนใจและเข้าถึงง่าย และในวันที่ 6 กันยายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่สองของการอบรม ผู้เข้าร่วมได้เริ่มต้นด้วยการทบทวนและปรับปรุงนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นในวันแรก โดยมีวิทยากรและผู้ช่วยคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ช่วงบ่ายของวัน ผู้เข้าร่วมได้นำเสนอสื่อการสอนที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประกอบด้วยบอร์ดเกม นิทานคุณธรรมอิเล็กทรอนิกส์ และสื่อวีดีโอแอนิเมชัน สื่อเหล่านี้จะถูกนำไปทดลองใช้จริงในห้องเรียน เพื่อประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนในอนาคต การอบรมนี้จะจัดต่อเนื่อง เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถปรับปรุงนวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาแล้วอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีการประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนำไปใช้ในห้องเรียนจริง นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน.
6 กันยายน 2567
คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการประชุมเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา พร้อมร่วมบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการขับเคลื่อนโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา วันนี้ 15 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนสาธิต วิทยาการอิสลามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายสนั่น สนธิเมือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานพิธีเปิด “การประชุมเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการขับเคลื่อนโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา" ภายใต้โครงการวิจัย "การพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่ายทางการศึกษาในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริหารและการจัดการเรียนรู้เพื่อลดการสอนเพิ่มการเรียนรู้สู่การสร้างสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลามม หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี /หัวหน้าโครงการวิจัย ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร อินทจักร์ ผู้แทนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ,คณะผู้บริหาร ,หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจน ตัวแทนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี ทั้ง 32 โรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ฯ โดยกิจกรรมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการขับเคลื่อนโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาฯ ระหว่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ,สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี , สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี, คณะวิทยาการอิสลามมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ,ห้องเรียน Change: ห้องเรียนเพื่อการพัฒนาตัวเอง ,ร้านมิตรไมตรี Dining Cafe’ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี 32 แห่ง ร่วมบันทึกข้อตกลง เพื่อพัฒนาระบบและนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ ที่คุณภาพระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ
30 สิงหาคม 2567
โครงการวิจัย "นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษฐานสมรรถนะบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและความเป็นพลเมืองโลก" ภายใต้ชุดโครงการย่อยที่หนึ่งได้จัดกิจกรรมพัฒนากรอบสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารบูรณาการทุนทางวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมอิมามอัซซายูตี คณะวิทยาการอิสลาม กิจกรรมนี้มีการอภิปรายและการปฏิบัติการออกแบบกรอบสมรรถนะภาษาอังกฤษที่บูรณาการทุนทางวัฒนธรรม โดยมี ผศ. ดร.จารุวัจน์ สองเมือง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และ ผศ. ดร.ซัมซู สาอุ อาจารย์จากคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากรหลักในการนำการอภิปรายและกิจกรรมต่าง ๆ ในวันแรกของกิจกรรม มีการอภิปรายในหัวข้อ "ความสำคัญของการบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมในกรอบสมรรถนะภาษาอังกฤษ" และการระดมความคิดเพื่อระบุองค์ประกอบที่สำคัญในกรอบสมรรถนะดังกล่าว ส่วนในวันที่สอง มีการบรรยายในหัวข้อ "การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษ" และกิจกรรมการออกแบบกรอบสมรรถนะภาษาอังกฤษโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมในชุมชนเป็นฐาน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมและส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกให้กับนักเรียนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี        
29 สิงหาคม 2567
เมื่อวันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2567 ได้มีการจัดการประชุมวิพากษ์หลักสูตรภาษาอังกฤษฐานสมรรถนะบูรณาการทุนทางวัฒนธรรม ณ ห้องประชุมอิมามอัลบุคอรีย์ ชั้น 2 คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ "นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษฐานสมรรถนะบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตรภาษาอังกฤษที่จะช่วยพัฒนานักเรียนให้สามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและมีความเป็นพลเมืองโลก การประชุมเริ่มต้นด้วยการแนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของการประชุมโดยหัวหน้าโครงการวิจัย ต่อด้วยการนำเสนอภาพรวมของหลักสูตรภาษาอังกฤษฐานสมรรถนะบูรณาการทุนทางวัฒนธรรม จากนั้นมีการเปิดวิพากษ์หลักสูตรโดยผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าหมวดสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ครูภาษาอังกฤษ และนักเรียน ในช่วงบ่าย การประชุมได้แบ่งเป็นกลุ่มสนทนาระหว่างครูและนักเรียน เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และได้มีการบันทึกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทั้งสองฝ่าย โดยช่วงท้ายของกิจกรรมมีการสรุปข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรต่อไป
21 สิงหาคม 2567
เมื่อวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2567 ได้มีการจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) ภายใต้หัวข้อ "สภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดการสอนเพิ่มการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม" ณ ห้องประชุมอิมามฆอซาลีย์ ชั้น 2 คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ "การพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดการสอนเพิ่มการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี" โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อับดุลฮากัม เฮ็งปิยา เป็นหัวหน้าโครงการและเป็นผู้กล่าวต้อนรับพร้อมเปิดการประชุม วัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้คือการรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการที่จำเป็นในการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม การประชุมแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกเริ่มตั้งแต่เวลา 13.45 - 14.30 น. และช่วงที่สองเวลา 14.45 - 16.20 น. ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ซึ่งในท้ายที่สุดได้มีการสรุปประเด็นสำคัญและปิดการประชุมเวลา 16.30 น. การจัดประชุมในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ  
21 สิงหาคม 2567
ไปที่หน้า